Pages

June 26, 2008

The Coming of Selectoral Democracy 70:30

Amidst pastry-gate (Thaksin's lawyers found guilty of contempt of court), no-confidence debates against the Samak PPP-led government, and constant rumours of khaki-movement, Suriyasai Katasila has called for a new politics which he claims to be in line with the thinking of the People's Alliance for Democracy leadership.


In the 25th June edition of Manager Online Suriyasai called for a new politics centred on "sang chat" or "build the nation", which involves the removal of the "nominee government", waging the final war against Thaksinocracy, and the creation of a new political system, which I will call Selectoral Democracy.

Suriyasai wants to see 70% of office holders come from as yet to be defined processes of selection, and 30% from election. This proposed system of Selectoral Democracy is warranted, he argues, because big capital captures political power in the current system of "4-second democracy".

Echoing the politics of Thai-statist corporatism during the 1980s, Selectoral Democracy will involve people from different occupations in new political organizations at different levels working for the interests of people. That is to say, it is not merely a rejigging of the House of Representatives and Senate along the lines of semi-democracy. However, the new politics also genuflects in the direction of civic politics: people's participation will be promoted through more public hearings and referendums (Scandinavian countries are cited as examples).

Interesting proposals, no doubt, that are best tried in the court of democratic opinion. And on that note, the most worrying aspect of Suriyasai's article is not his critique of representative democracy and all its limits, which is a commonplace among right and left, but his considerations on how this new politics will come about in the current context:

"Some people will doubt where we begin: A coup d'etat, tear up the constitution, install a government of national unity? If at this moment society sees the importance and urgency of building the nation and new politics, the method is not that difficult an issue and might be easier than we think. It need not lead to killing and civil war as some people fear."

I assume the method will be revealed soon enough. One thing is clear, it's not hard to see who would benefit from selectocracy.


**************************************************************
The Thai article discussed above.

“การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2551 19:36 น.

โดย สุริยะใส กตะศิลา

ภายหลังพันธมิตรฯ สามารถเคลื่อนขบวนหลายแสนคนฝ่าด่านกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนสามารถเข้ามายึดพื้นที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผลสำเร็จ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเลือดตกยางออกอย่างที่หลายฝ่ายวิตกกังวล หลังจากนั้น พันธมิตรฯ ได้ตั้งเวทีถาวรขนาดใหญ่ที่สะพานชมัยมรุเชฐ และมีการเปิดปราศรัยปกติคล้ายๆ กับการชุมนุมยืดเยื้อที่สะพานมัฆวานรังสรรค์

ประเด็นที่ได้รับความสนใจและถามไถ่จากสื่อมวลชน กระทั่งกลายเป็นข้อถกเถียงตามมาในวงกว้างก็คือ การเปิดประเด็นของ 5 แกนนำบนเวทีปราศรัย ที่ชูธงปลุกมวลชน “ร่วมสร้างการเมืองใหม่” พร้อมๆ กับการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีการเมืองแบบระบบรัฐสภาในปัจจุบันที่ไม่สามารถเยียวยาหรือแก้ไขวิกฤตการณ์ของชาติได้อย่างเท่าทัน

การเมืองใหม่ ได้กลายเป็นวาทกรรมการเมืองที่หลายฝ่ายออกมาตีความ ขยายความ ตั้งข้อสังเกต หรือกระทั่งเคลือบแคลงว่าพันธมิตรฯ มีวาระพิเศษหรือวาระซ่อนเร้นจากการชูธงผืนใหม่ใบนี้หรือไม่

ผมในฐานะผู้ประสานงานพันธมิตรฯ ซึ่งพอมีความใกล้ชิดทางความคิดกับแกนนำพันธมิตรฯ ทั้ง 5 คน ทั้งในห้องประชุมและนอกห้องประชุม

ผมเห็นว่า การชูธง “ร่วมสร้างการเมืองใหม่” ของทั้ง 5 แกนนำต่อมวลชนพันธมิตรฯ และสาธารณชนนั้น ถือเป็นการยกระดับการต่อสู้ของแกนนำ และมวลชนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เป็นการยกระดับที่อาจดูเหมือนล้ำหน้า และเกินความเข้าใจของประชาชนทั่วไป แต่เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องพูด ต้องเสนอและต้องกล้าจุดประกาย ก่อนที่ทุกอย่างจะสายหรือ ถ้าเปรียบประเทศเป็นปลาก็เหลือแต่ก้างไว้ให้ลูกหลานเท่านั้น

เมื่อ 2-3 ปีที่แล้วถ้าเราย้อนไปดูการก่อเกิดของพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ และเปิดโปงความเลวร้ายของระบอบทักษิณ โดยชูวาทกรรม “กู้ชาติ” นั้น แม้สุดท้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องพ้นจากตำแหน่งโดยการรัฐประหาร และต่อมาระบอบทักษิณ ได้ถูกรื้อถอนไปในระดับหนึ่งก็ตาม

แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้ข้อยุติ ซ้ำร้ายหลังการเลือกตั้งได้รัฐบาลนอมินี ยิ่งพบชัดเจนว่าการเมืองไทยมีทิศทางกลับไปสู่ระบอบทักษิณ และความเป็นใหญ่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระทั่งกลุ่มทุนการเมืองในนามพรรคไทยรักไทยเดิม

ด้วยเหตุดังนั้น การประกาศฟื้นพันธมิตรฯ ภาค 2 จึงเลี่ยงไม่พ้น แต่ภายใต้สถานการณ์ใหม่จึงดูเหมือนธงการต่อสู้ของพันธมิตรฯ จึงเป็นธงผืนใหม่และใบใหญ่กว่าเดิม คือธง “โค่นระบอบทักษิณ ไล่รัฐบาลหุ่นเชิด” ในความหมายของ “สงครามกู้ชาติครั้งสุดท้าย”

ในขณะเดียวกันก็ประกาศสงครามครั้งใหม่ คือ การชูธง “สร้างชาติ” ภายใต้วาทกรรมการเมืองใหม่ ไปให้พ้นระบบรัฐสภาของนักเลือกตั้ง หรือประชาธิปไตยแบบ 4 วินาที หรือลัทธิเลือกตั้งเป็นใหญ่

“การเมืองใหม่” ในความหมายของพันธมิตรฯ จึงเป็นการเมืองที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ลดอำนาจหน้าที่ของตัวแทนหรือผู้แทนลง เพิ่มบทบาทและอำนาจให้กับประชาชนมากขึ้น

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภา หรือประชาธิปไตยแบบผู้แทนได้ถูกประจานไปทั่วโลกว่ามีขีดจำกัดและไม่มีศักยภาพในการรับมือกับวิกฤตการณ์ของโลกในยุคทุนสามานย์เป็นใหญ่ กระแสการพัฒนาประชาธิปไตยในทางสากลทั่วโลกจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการปรับปรุงปฏิรูประบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้นมากขึ้น

ในบางประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ไม่เพียงแต่ลดบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจของผู้แทนลงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มและถ่ายโอนเคลื่อนย้าย “อำนาจในการตัดสินใจ” ไปที่ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยตรงมากขึ้น ในรูปแบบของการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) และประชามติ (Referendum) มากขึ้น

การเมืองใหม่ในความหมายของประชาธิปไตยแบบใหม่ จึงไม่ใช่แค่ต้องให้ความสำคัญกับที่มาหรือกระบวนการในการตัดสินใจใช้อำนาจเท่านั้น หากแต่ต้องสร้างหลักประกันว่าประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทุกชนชั้นจะเข้าถึงอำนาจในการตัดสินใจหรือกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา กรรมกรผู้ใช้แรงงาน คนจนในเมือง คนจนในชนบท ชนเผ่าชายขอบ พ่อค้าวาณิชย์ นักธุรกิจชนชั้นกลาง ผู้หญิง คนพิการ คนด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น

กล่าวเช่นนี้ย่อมแน่นอนว่าไม่ใช่แค่สัดส่วนหรือที่นั่งในอำนาจนิติบัญญัติ (ส.ส.-ส.ว.)จะต้องมีองค์ประกอบและหลักประกันที่หลากหลายเท่านั้น ในขณะเดียวกันอำนาจบริหารก็ต้องมีพื้นที่ให้กับคนกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นในระดับที่แน่นอนเช่นกัน

ข้อเสนอที่ท้าทายของแกนนำพันธมิตรฯ ที่เสนอสูตรผสมของผู้เข้าสู่อำนาจในสัดส่วน 70:30 กล่าวคือเพิ่มกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น ร้อยละ 70 และลดที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งโดยวิธีการเลือกตั้งลงเหลือร้อยละ 30 จึงเป็นเพียงการนับหนึ่งหรือริเริ่มจุดประกายให้สังคมได้ขบคิดถกเถียงขยายผลในวงกว้างต่อไป

ทั้งนี้ ในรายละเอียดหรือโมเดลของ การเมืองใหม่ จึงจำเป็นที่ผู้รู้ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย และภาคส่วนต่างๆ จะนำไปขบคิดขยายผลเพื่อก้าวพ้นลัทธิเลือกตั้งที่ทุนเป็นใหญ่ ประเทศซื้อได้ และประชาชนเป็นเพียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ว่านอนสอนง่ายเท่านั้น

ที่กล่าวมาข้างต้น หลายคนอาจสงสัยว่าจะเริ่มตรงไหนอย่างไร ต้องปฏิวัติ รัฐประหาร ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ ต้องตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลเฉพาะกาล อย่างนั้นหรือ ผมกลับเห็นว่าวิธีการอาจไม่สำคัญเท่ากับหลักการ หากวันนี้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนว่าเราต้องร่วมร่วมกันสร้างชาติและสร้างการเมืองใหม่แล้ว รูปแบบวิธีการก็อาจไม่ใช่เรื่องยากและอาจง่ายเกินกว่าที่เราคิดและอาจไม่ถึงขั้นต้องรบราฆ่าฟันกันกลางเมืองอย่างที่หลายฝ่ายกังวล

วันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขอเป็นผู้ถือธงนำ และประกาศเป็นพันธสัญญาในการต่อสู้ครั้งนี้ร่วมกับผู้รักความเป็นธรรมทั่วไป สงครามครั้งสุดท้ายโค่นล้มระบอบทักษิณจึงเป็นเพียงระยะผ่านสู่ สงครามอันศักดิ์สิทธิ์ คือการ ร่วมกันสร้างการเมืองใหม่ ให้ปรากฏเป็นจริง...

No comments: